วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2553

รู้จักกับ windows firewall


windows firewall หรือชื่อเดิมคือ internet connection firewall หรือ icf เป็นขอบเขตป้องกันที่ตรวจตราและจำกัดข้อมูล

ระหว่างคอมพิวเตอร์ของคุณกับเครือข่ายหรืออินเตอร์เน็ต เพื่อเป็นเขตป้องกันไม่ให้บุคคลอื่นนอกไฟร์วอลล์เข้ามายังคอมพิวเตอร์ของคุณ

โดยไม่ได้รับการอนุญาต หากคุณใช้ windows xp service pack 2 (sp2) อยู่ windows firewall จะเปิดใช้โดยอัตโนมัติ

หลังจากติดตั้ง อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์บางรายหรือผู้ดูแลเครือข่ายอาจปิดการทำงานของไฟร์วอลล์ก็ได้

windows firewall หรือชื่อเดิมคือ internet connection firewall หรือ icf เป็นขอบเขตป้องกันที่ตรวจตราและจำกัดข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ของคุณกับเครือข่ายหรืออินเตอร์เน็ต เพื่อเป็นเขตป้องกันไม่ให้บุคคลอื่นนอกไฟร์วอลล์เข้ามายังคอมพิวเตอร์ของคุณโดยไม่ได้รับการอนุญาต หากคุณใช้ windows xp service pack 2 (sp2) อยู่ windows firewall จะเปิดใช้โดยอัตโนมัติหลังจากติดตั้ง อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์บางรายหรือผู้ดูแลเครือข่ายอาจปิดการทำงานของไฟร์วอลล์ก็ได้








วิธีเปิดการทำงานของ windowsfirewall




1. คลิ๊ก start แล้วคลิ๊ก control panel

2. ใน control panel คลิ๊กที่ windows security center

3. คลิ๊ก windows firewall

security center

หมายเหตุ คุณสามารถใช้โปรแกรมไฟร์วอลล์อื่นได้ตามต้องการ โดยพิจารณาจากคุณสมบัติและตัดสินใจว่าไฟร์วอลล์ใดเหมาะกับความต้องการของคุณมากที่สุด ในกรณีที่เลือกใช้ซอฟต์แวร์ไฟร์วอลล์อื่น คุณจำเป็นต้องปิดการทำงานของ windows firewall

windows firewall ทำงานอย่างไร

เมื่อมีใครในอินเตอร์เน็ตหรือในเครือข่ายติดต่อกับคอมพิวเตอร์ของคุณ เราจะเรียกการกระทำนี้ว่า "การร้องขอที่ไม่ได้เชื้อเชิญ" เมื่อคอมพิวเตอร์ของคุณได้รับการร้องขอที่ไม่ได้เชื้อเชิญ windows firewall จะสกัดกั้นการติดต่อ หากคุณใช้โปรแกรมอย่างเช่น โปรแกรมส่งข้อความหรือเกมส์ในเครือข่าย ที่จำเป็นต้องได้รับข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตหรือเครือข่าย ไฟร์วอลล์จะถามว่าคุณต้องการสกัดกั้นหรือยอมให้มีการติดต่อนี้หรือไม่ ซึ่งจะปรากฏวินโดว์ข้างล่างนี้


การแจ้งเตือนด้านความปลอดภัยของไฟร์วอลล์


ถ้าคุณเลือกที่จะไม่สกัดกั้นการติดต่อ windows firewall จะสร้างข้อยกเว้นขึ้น เพื่อจะไม่รบกวนการติดต่อในครั้งต่อไปของโปรแกรมนั้น ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อยกเว้นได้ที่ การใช้ exception tab ในบทความนี้

คำแนะนำ ถึงแม้จะสามารถปิดการทำงานของ windows firewall สำหรับอินเตอร์เน็ตและเครือข่ายที่ระบุเฉพาะได้ แต่การทำเช่นนั้นจะเพิ่มความเสี่ยงให้กับการรักษาความปลอดภัยในคอมพิวเตอร์ของคุณ

windows firewall สามารถทำอะไรได้บ้าง

ทำได้ ทำไม่ได้

ช่วยสกัดกั้นบล็อกไวรัสหรือเวิร์ม ไม่ให้เข้าสู่คอมพิวเตอร์ของคุณ ตรวจจับหรือการทำงานของไวรัสหรือเวิร์ม หากมีสิ่งเหล่านี้อยู่ในคอมพิวเตอร์ของคุณแล้ว ด้วยเหตุผลนี้ คุณจึงควรติดตั้งซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสและอัพเดทโปรแกรมอยู่เสมอเพื่อป้องกันไวรัส, เวิร์ม และภัยคุกคามความปลอดภัยอื่นๆ ไม่ให้สร้างความเสียหายหรือใช้คอมพิวเตอร์ของคุณในการแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่น อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก คำถามที่ถูกถามบ่อยๆ เกี่ยวกับซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส


ขออนุญาตในการหยุดหรือยอมให้มีการเชื่อมต่อ ห้ามไม่ให้คุณเปิดอีเมล์ที่มีไฟล์แนบที่เป็นอันตราย อย่าเปิดไฟล์แนบที่มากับอีเมล์ของบุคคลที่คุณไม่รู้จัก และควรระวังแม้จะเป็นอีเมล์จากแหล่งที่เชื่อถือได้ก็ตาม เมื่อได้รับอีเมล์พร้อมไฟล์แนบ ให้อ่านหัวเรื่องเสียก่อน หากหัวเรื่องผิดปกติหรือไม่เข้าท่า ให้ตรวจสอบกับผู้ส่งก่อนที่จะเปิดอ่าน

สร้างบันทึก ในกรณีที่คุณต้องการเก็บประวัติการเชื่อมต่อ ทั้งที่สำเร็จและไม่สำเร็จ ซึ่งอาจใช้ช่วยในการแก้ปัญหาได้ สกัดกั้นอีเมล์ขยะจากเมล์บ็อกซ์ของคุณ อย่างไรก็ตามโปรแกรมอีเมล์บางโปรแกรมอาจช่วยสกัดอีเมล์ขยะให้คุณได้ ตรวจสอบเอกสารของโปรแกรมอีเมล์ที่คุณใช้หรืออ่าน ต่อสู้กับอีเมล์ขยะ หากต้องการศึกษาเพิ่มเติม

การปรับค่า windows firewall

หากคุณใช้ windows xp service pack 2 (sp2) จะมีการเปิดใช้ windows firewall หลังจากติดตั้งโดยอัตโนมัติ และไมโครซอฟท์ขอแนะนำให้เปิดการทำงานของ windows firewall ไว้เพื่อปกป้องคอมพิวเตอร์ของคุณจากไวรัสและภัยคุกคามอื่นๆ

เนื่องจากไฟร์วอลล์ทำหน้าที่จำกัดการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ของคุณกับอินเตอร์เน็ต คุณอาจต้องปรับการกำหนดค่าของบางโปรแกรมที่ใช้การติดต่อแบบเปิด การตั้งค่าในลักษณะนี้เรียกว่า "ข้อยกเว้น" ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อยกเว้นได้ที่ การใช้ exception tab ในบทความนี้

windows firewall มีการกำหนดค่า 3 ลักษณะคือ on, on with no exceptions และ off

on: เปิดใช้งาน windows firewall
on: เปิดใช้งาน windows firewall (โดยปกติคุณควรเปิดไฟร์วอลล์ไว้ในลักษณะนี้) ซึ่งจะปฏิเสธคำร้องขอที่ไม่ได้เชื้อเชิญทั้งหมดที่ติดต่อเข้ามาสู่คอมพิวเตอร์ของคุณ ยกเว้นคำร้องขอที่มาจากโปรแกรมหรือบริการที่เลือกไว้ในแท็ป exceptions

on with no exceptions: เมื่อตัวเลือก don't allow exceptions ถูกเลือก windows firewall จะปฏิเสธคำร้องขอที่ไม่ได้เชื้อเชิญทั้งหมดที่ติดต่อเข้ามาสู่คอมพิวเตอร์ของคุณ รวมถึงคำร้องของที่มาจากโปรแกรมหรือบริการที่เลือกไว้ในแท็ป exceptions ด้วย ให้คุณเลือกการตั้งค่านี้เมื่อต้องการป้องกันแบบสูงสุด เช่น เมื่อเชื่อมต่อกับเครือข่ายสาธารณะที่โรงแรมหรือสนามบิน หรือเมื่อมีการแพร่กระจายของไวรัสหรือเวิร์มชนิดร้ายแรงในอินเตอร์เน็ต


คำแนะนำ คุณไม่จำเป็นต้องเลือก don't allow exceptions ไว้ตลอดเวลา เนื่องจากบางโปรแกรมอาจทำงานไม่ถูกต้อง และบริการข้างล่างนี้จะไม่สามารถตอบรับการร้องขอที่ไม่ได้เชื้อเชิญได้

• การใช้ไฟล์และเครื่องพิมพ์ร่วมกัน

• remote assistance และ remote desktop

• การค้นหาอุปกรณ์ที่อยู่ในเครือข่าย

• โปรแกรมและบริการที่ระบุไว้ในรายการข้อยกเว้น

• สิ่งที่ระบุเพิ่มเติมไว้ในรายการข้อยกเว้น

หมายเหตุ แม้จะเลือก don't allow exceptions ไว้ก็ตาม คุณยังสามารถส่งและรับอีเมล์, ใช้โปรแกรมส่งข้อความ(instant messaging) หรือดูเว็บเพจส่วนใหญ่ได้

off: ปิดการทำงานของ windows firewall


off: ปิดการทำงานของ windows firewall ซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์ของคุณเสี่ยงต่อการบุกรุกหรือจากไวรัสที่มาทางอินเตอร์เน็ต การตั้งค่าแบบนี้เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่เชี่ยวชาญ สำหรับการจัดการระบบเท่านั้น หรือในกรณีที่คอมพิวเตอร์ได้รับการป้องกันจากไฟร์วอลล์อื่น

การปรับตั้งค่าของ windows firewall

1. คลิ๊ก start แล้วคลิ๊ก control panel

2. ใน control panel คลิ๊กที่ windows security center

3. คลิ๊ก windows firewall

4. เลือกการตั้งค่าที่คุณต้องการในแท็ป general


แท็ป general ของ windows firewall

หมายเหตุ การกำหนดค่าของคุณเมื่อคอมพิวเตอร์อยู่ในโดเมน จะถูกบันทึกแยกจากการกำหนดค่าที่สร้า งขณะที่คอมพิวเตอร์อยู่นอกโดเมน ซึ่งการแยกกลุ่มนี้เรียกว่า โปรไฟล์

การใช้แท็ป exceptions

หากคุณใช้ windows xp service pack 2 (sp2) จะมีการเปิดใช้ windows firewall หลังจากติดตั้งโดยอัตโนมัติ ซึ่งหมายความว่า โปรแกรมส่วนใหญ่จะไม่ได้รับอนุญาตให้ตอบรับการสื่อสารที่ไม่ได้เชื้อเชิญจากอินเตอร์เน็ต นอกจากว่าคุณได้ระบุโปรแกรมเหล่านั้นในข้อยกเว้น มีโปรแกรม 2 โปรแกรมถูกระบุไว้ในรายการข้อยกเว้นตั้งแต่เริ่ม เพื่อจะสามารถตอบรับการสื่อสารที่ไม่ได้เชื้อเชิญผ่านทางอินเตอร์เน็ต ได้แก่ files and settings transfer wizard และ file and printer sharing

เนื่องจากไฟร์วอลล์ทำหน้าที่จำกัดการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ของคุณกับอินเตอร์เน็ต คุณอาจต้องปรับการกำหนดค่าของบางโปรแกรมที่ใช้การติดต่อแบบเปิดให้อยู่ในข้อยกเว้น เพื่อให้โปรแกรมเหล่านั้นสามารถสื่อสารผ่าน windows firewall ได้

การอนุญาตข้อยกเว้นก่อให้เกิดความเสี่ยง


ทุกครั้งที่อนุญาตให้โปรแกรมได้รับข้อยกเว้นการสื่อสารผ่าน windows firewall คอมพิวเตอร์ของคุณจะมีความเสี่ยงมากขึ้น การอนุญาตข้อยกเว้นนั้นเหมือนกับการเจาะช่องให้กับ windows firewall ซึ่งถ้ามีช่องโหว่มากเกินไปไฟร์วอลล์ของคุณก็จะสกัดกั้นการบุกรุกได้เพียงเล็กน้อย และแฮ็กเกอร์ก็มักใช้ซอฟต์แวร์สแกนหาคอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้รับการป้องกันผ่านอินเตอร์เน็ต ดังนั้น ถ้าคุณมีข้อยกเว้นมากและเปิดพอร์ตทิ้งไว้ คอมพิวเตอร์ของคุณก็จะมีความเสี่ยงมากยิ่งขึ้น

เพื่อลดความเสี่ยงด้านการรักษาความปลอดภัย คุณควร

• กำหนดข้อยกเว้นเฉพาะที่จำเป็นจริงๆ

• ไม่กำหนดข้อยกเว้นให้กับโปรแกรมที่ไม่รู้จัก

• ยกเลิกข้อยกเว้นเมื่อไม่ต้องการใช้อีกต่อไป

ยอมให้มีข้อยกเว้นแม้จะมีความเสี่ยง


ในบางครั้ง คุณอาจต้องการให้ใครบางคนสามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ของคุณได้ทั้งๆ ที่มีความเสี่ยง เช่น เมื่อคุณรอรับไฟล์จากโปรแกรมส่งข้อความหรือเมื่อเล่นเกมส์ผ่านอินเตอร์เน็ต

ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณกำลังสนทนาด้วยข้อความกับผู้ต้องการส่งไฟล์ (เช่น ไฟล์รูปภาพ) มาให้คุณ windows firewall จะถามว่าคุณต้องการยกเลิกการสกัดการติดต่อและอนุญาตให้มีการส่งภาพมายังคอมพิวเตอร์ของคุณหรือไม่ หรือถ้าคุณกำลังเล่นเกมส์กับเพื่อนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต คุณสามารถเพิ่มรายชื่อเกมส์เป็นข้อยกเว้น เพื่อที่ไฟร์วอลล์จะอนุญาตให้ข้อมูลเกมส์ส่งผ่านมายังคอมพิวเตอร์ของคุณได้

การเพิ่มโปรแกรมเข้าสู่รายการข้อยกเว้น

• คลิ๊ก start แล้วคลิ๊ก control panel

• ใน control panel คลิ๊กที่ windows firewall

• ที่แท็ป exceptions ภายใต้ programs and services ให้ทำเครื่องหมายถูกให้กับโปรแกรมหรือบริการที่คุณต้องการ แล้วคลิ๊ก ok

แท็ป exceptions ของ windows firewall

หากโปรแกรม (หรือบริการ) ที่คุณต้องการไม่ได้อยู่ในรายชื่อ


1. คลิ๊ก add program

2. ในวินโดว์ add a program คลิ๊กโปรแกรมที่คุณต้องการเพิ่ม แล้วคลิ๊ก ok ชื่อโปรแกรมจะปรากฏขึ้น ที่แท็ป exceptions ภายใต้ programs and services

3. คลิ๊ก ok

คำแนะนำ: ถ้าโปรแกรม (หรือบริการ) ที่ต้องการไม่อยู่ในรายชื่อในวินโดว์add a program ให้คลิ๊กที่ browse เพื่อระบุตำแหน่งของโปรแกรมที่ต้องการจะเพิ่ม แล้วดับเบิลคลิ๊ก (โปรแกรมมักเก็บอยู่ในโฟลเดอร์program files ในคอมพิวเตอร์ของคุณ) ชื่อโปรแกรมจะแสดงอยู่ใต้ programs ในวินโดว์ add a program

เปิดพอร์ตเป็นทางเลือกสุดท้ายเท่านั้น


ถ้ายังหาโปรแกรมไม่เจอ คุณสามารถเปิดพอร์ตแทนได้ พอร์ตเป็นเหมือนประตูเล็กๆ ในไฟร์วอลล์ที่อนุญาตให้การสื่อสารผ่านเข้ามาได้ ในการระบุพอร์ตที่ต้องการ ให้คลิ๊ก add port บนแท็ป exceptions (เมื่อทำการเปิดพอร์ตแล้ว อย่าลืมปิดพอร์ตเมื่อคุณใช้งานเสร็จ)

การเพิ่มข้อยกเว้นเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการเปิดพอร์ต เนื่องจาก

• ทำได้ง่ายกว่า

• คุณไม่จำเป็นต้องทราบหมายเลขพอร์ตที่ต้องการใช้

• ให้ความปลอดภัยมากกว่าการเปิดพอร์ต เนื่องจากไฟร์วอลล์จะเปิดทางให้ในขณะที่โปรแกรมกำลังรอรับการติดต่อเท่านั้น

ทางเลือกระดับสูง

ผู้ใช้ที่เชี่ยวชาญสามารถเปิดพอร์ตและปรับขอบเขตของแต่ละการเชื่อมต่อ เพื่อลดโอกาสที่ผู้บุกรุกจะเชื่อมต่อเข้ามายังคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย ซึ่งสามารถทำได้โดยเปิด windows firewall คลิ๊กที่แท็ป advanced และใช้การกำหนดค่าภายใต้ network connection settings

การเปิด-ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์

การเปิด และปิดเครื่องคอมพิวเตอร์


ขั้นตอนการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์

1. ทำการตอบสอบสายไฟของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มีการต่อพ่วงที่ถูกต้อง

2. เสียบปลั๊กไฟ

3. เปิดสวิตซ์จอภาพ

4. เปิดสวิตซ์เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อเปิดโปรแกรมระบบปฏิบัติการ

5. เปิดโปรแกรมที่ต้องการทำงาน

6. ใช้งานโปรแกรม



ขั้นตอนการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์

1. ทำการปิดโปรแกรมทุกโปรแกรมที่ใช้งานอยู่

2. คลิกปิดระบบปฏิบัติการ ที่เมนู Start แล้วคลิก Turn off computer

3. เลือก Turn off จากกรอบโต้ตอบ Turn off computer

4. ปิดสวิตซ์ที่จอภาพ

5. เมื่อไฟแสดงสถานะการทำงานที่ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ดับ ให้ถอดปลั้กไฟ



การใช้แผงแป้นอักขระในการปิดเครื่อง

วิธีการปิดเครื่องอีกวิธีหนึ่ง ได้แก่ การใช้แผงแป้นอักขระเป็นตัวช่วยในการปิดระบบปฏิบัติการ ซึ่งมีหลายวิธีได้แก่

1. การกดปุ่ม Alt + F4 แล้วเลือก Turn off ที่กรอบโต้ตอบ

2. การกดปุ่ม Ctrl + Alt + Delete พร้อมกัน แล้วคลิกเมนู Shut Down แล้วเลือก Turn off

3. การกดแป้น สัญญลักษณ์ Windows ที่แผงแป้นอักขระเพื่อเข้าสู่เมนู Start แล้วคลิก Turn off computer แล้วเลือก Turn off



การเริ่มต้นระบบปฏิบัติการใหม่ (Restart)

การ Restart เครื่องนั้น อาจจะใช้ในกรณีของซอฟต์แวร์ประยุกต์บางตัวเกิดปัญหาไม่สามารถทำงานได้ มีความจำเป็นต้องเริ่มการทำงานใหม่ ก็สามารถเริ่มต้นระบบปฏิบัติการใหม่โดยการ Restart ก็จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ดำเนินการทำงานใหม่อีกครั้ง ในการเลือกใช้การ Restart นั้นสามารถดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้

1. คลิกที่เมนู Start

2. เลือก Turn off computer

3. เลือก Restart จากกรอบโต้ตอบ

เครื่องก็จะทำการปิดระบบปฏิบัติการแล้วเปิดขึ้นใหม่สู่ระบบปกติ



การแก้ปัญหาเบื้องต้นในการเปิดและปิดเครื่องคอมพิวเตอร์

การเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ในบางครั้งอาจจะมีปัญหาที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถดำเนินการเปิดเครื่อง ให้เป็นปกติได้ ซึ่งปัญหาเหล่านั้นอาจตรวจสอบได้ด้วยตนเอง เช่น

- มีแผ่นบันทึกอยู่ในหน่วยขับแผ่นบันทึก ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถเปิดเข้าสู่ระบบปฏิบัติการได้ เนื่องจากไม่มีโปรแกรมระบบปฏิบัติการ ซึ่งจะปรากฎหน้าจอดังนี้



Non-System disk or disk error

Replace and press any key when ready

- เมื่อเปิดเครื่องตอมพิวเตอร์แล้วจอภาพไม่ปรากฎภาพ การตรวจสอบเบื้องต้นควรดูว่า ปุ่ม ปิด-เปิดจอภาพ ทำการเปิด หรือไม่ สายไฟมีการเชื่อมต่อหรือไม่ หรือ กรณีที่มีข้อความปรากฎขึ้นหน้าจอว่า No signal ให้ทำการตรวจสอบดูสายอุปกรณ์ต่อเชื่อมระหว่างจอภาพ และตัวเครื่องคอมพิวเตอร์



ข้อเสียของการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์โดยไมถูกวิธี

ในกรณีที่มีการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ถูกวิธี เช่น ถอดปลั๊กไฟอย่างฉับพลัน หรือไฟดับแล้ว เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ได้มีเครื่องสำรองไฟ อาจมีผลเสียต่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ได้เช่น

1. ทำให้ Power Supply และ Main board เกิดการชำรุดเสียหาย

2. ไฟล์ที่มีนามสกุล Tmp ที่เกิดขึ้นไมถูกลบทิ้งในตอนเครื่องดับทำให้มีปริมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้พื้นที่ของฮาร์ดดิสก์ มีเนื้อที่ลดลง และทำให้เครื่องทำงานช้าลง

3. แฟ้มข้อมูลบางแฟ้มที่กำลังทำงานอยู่ขณะนั้น อาจเกิดความเสียหายได้

วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Tips สำหรับ Windows

โหลดเพลงเป็นล้านฟรี - ผ่าน Muziic


หลังจากที่เราเคยมีประสบการณ์กับ Kazaa, LimeWire, และ Napter ซึ่งใช้การ download เพลงแบบ peer-to-peer ตัวใหม่ที่จะพูดถึงในวันนี้คือ Muziic ซึ่งเป็น desktop application ที่ใช้งานได้กับ Windows XP, 2003 และ Vista โดยโปรแกรมนี้จะทำให้คุณสามารถเข้าถึงเพลงได้เป็นล้าน ๆ เพลงเลยทีเดียว


Muziic ทำงานยังไง?

ด้วย Muziic คุณสามารถฟังเพลงฟรีแบบออนไลน์ และมีเพลงให้เลือกฟังเป็นล้าน ๆ เพลง ซึ่งคุณจะไม่มีปัญหาใด ๆ เหมือนอย่าง Napster

เพราะ Muziic นั้นเป็นการใช้งานที่ถูกกฏหมาย 100% คุณสามารถใช้โปรแกรมตัวนี้เพื่อค้นหาเพลงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเพลงประเภทใด เก่าแค่ไหน

ในตอนแรกที่เริ่มใช้โปรแกรมนี้ใหม่ ๆ หน้าตาและการใช้งานโปรแกรมอาจจะยังไม่คุ้นเคยสำหรับคุณ แต่เมื่อคุณใช้ไปซักพัก คุณจะรู้สึกว่าโปรแกรมนี้สามารถใช้ค้นหา และฟังเพลงต่าง ๆ ได้สะดวกจริง ๆ


สิ่งแรกที่คุณต้องทำคือดาวน์โหลด Muziic โดยคลิ๊กที่นี่ จากนั้นให้ทำการ Install โปรแกรม แล้วเปิดโปรแกรมขึ้นมาเพื่อใช้งาน
เมื่อเปิดโปรแกรมขึ้นมา คุณจะเห็น Muziic player window ซึ่งเป็นขึ้นมาเพื่อให้คุณได้ scroll up และ down เพื่อเลือกแนวเพลงที่คุณต้องการ คุณสามารถเปิด genre หรือแนวเพลง และทำการดูรายชื่อเพลงต่าง ๆ ที่มีสมาชิกคนอื่น upload เข้าไปที่ Muziic ได้โดยการคลิ๊กที่ชื่อของเพลงนั่นเอง


เมื่อคุณเลื่อกแนวเพลง และเจอเพลงที่คุณต้องการจะฟัง คุณก็เพียงแค่คลิ๊กที่สัญลักษณ์ข้าง ๆ เพลงนั้น คุณก็สามารถเพิ่มเพลงนั้นเข้าสู่ play list ได้ทันที



เมื่อเลื่อกเพลงให้ไปอยู่ใน play list แล้วคุณก็สามารถ double click ที่เพลงเพื่อเริ่ม load และเล่นเพลงที่ต้องการได้ทันที

ตัวเดียวก็เกินพอ

Muziic มีตัว player ในการเล่นเพลงที่ให้คุณภาพเสียงได้ดีเยี่ยม คุณสามารถตั้งค่าให้เหมาะสมกับความเร็ว internet ของคุณโดยการคลิ๊กที่ setting tab และเลือกคุณภาพของเสียงระหว่าง Standard และ HQ Stereo (แบบ HQ หรือ High Quality นั้นคุณจะต้องมี internet ความเร็วสูง)
นอกจากคุณภาพเสียงที่สามารถปรับให้ตรงกับความไว internet ของคุณแล้ว คุณสามารถเลือกฟังเพลงได้เป็นล้าน ๆ เพลงเลยทีเดียว นับว่าเป็นโปรแกรมที่น่าโหลดไปลองใช้ดูอย่างยิ่งครับ



บทความโดย 2beshop.com

คีย์ลัดของ Window และ Office

การพิมพ์่ URL ที่ Address Bar โดยที่ไม่ต้องใช้เมาส์ชี้


เนื้อหา : เวลาีที่คุณมีปัญหาการใช้เมาส์ หรือคุณต้องการเลื่อนเมาส์ไปตำแหน่งของ

Address Bar เพื่อพิมพ์ชื่อที่อยู่ของเว็บ เราสามารถกดปุ่มที่แป้นพิพม์ Alt+D เพื่อแทนการใช้เมาส์ได้
 อย่าลืมลองดูและใช้บ่อยๆ



การลบหน้าต่าง Web Site ที่ขึ้นมาโดยอัตโนมัติ


เนื้อหา : ในระหว่างที่คุณค้นหาข้อมูลในเว็บต่าง ๆ อาจมีหน้าต่างเปิดขึ้นมาอัตโนมัติ เราเรียกว่า popup windows ครับ เว็บมีการใช้วิธีนี้เพื่อแสดงข้อความที่ต้อง การโฆษณา เราสามารถสั่งปิดได้ด้วยคำสั่ง Ctrl+W หรือกด Alt+F4 ครับ



การลบอีเมล์โดยการใช้ Shortkey


เนื้อหา : โดยปกติแล้วเวลาที่เราใช้อีเมล์ เราต้องการที่จะลบอีเมล์นั้นคุณต้องทำการเลือกอีเมล์นั้น แล้วต้องกด Delete ใช่ไหมครับแต่ ถ้ามีวิธีที่ง่ายกว่านั้นอีกครับ วิธีนั้นก็คือ ให้คุณกด Ctrl + D อีเมล์นั้นจะหายไปในทันที


การใช้คีย์ลัดใน Media Player
เนื้อหา : หลายๆ คนอาจจะยังไม่ทราบว่า ใน Media Player นั้น มีคีย์ลัดด้วย เรามาดูกันว่าคีย์ลัดเหล่านี้มีอะไรบ้าง
1. Ctrl+P : เล่นไฟล์ หรือหยุดชั่วขณะ (pause)

2. Ctrl+S : หยุดเล่น

3. Ctrl+B : เล่นไฟล์ก่อนหน้า

4. Ctrl+F : เล่นไฟล์ต่อไป

5. Ctrl+Shift+B : Rewind (เฉพาะ DVD)

6. Ctrl+Shift+F : Fast-forword (เฉพาะ DVD)

7. Ctrl+E : เปิดฝาสไดรฟ์ซีดี(อาจใช้ไม่ได้กับเครื่องที่มีไดรฟ์ซีดีรอม หรือดีวีดีหลายตัว)

8. Ctrl+U : เปิดไฟล์ หรือ URL

9. Alt+Enter : แสดงวีดีโอแบบเต็มจอ (full-screen)

10. Ctrl+1 : สลับจากโหมด Skin ไปเป็นโหมด Full

11. Ctrl+2 : สลับจากโหมด Full เป็นโหมด Skin

12. Ctrl+M : แสดงแถบเมนูระหว่างที่กำลังเล่นแบบ Full Screen

13. Atl+S : เป็นการค้นหาใน Media Library

14. F8 : ใช้สำหรับปิดเสียง(Mute)

15. F9 : ใช้ลด Volume

16. F10 : ใช้เพิ่ม Volume



คีย์ลัดสำหรับคีย์บอร์ดใน XP


เนื้อหา : หลายๆ ท่านอาจจะใช้ Windows XP อยู่ เรามีคีย์ลัดสำหรับ XP โดยเฉพาะให้คุณครับ

1. A-Z : เลือกไฟล์ที่มีชื่ี่อขึ้นต้นด้วยอักษรนั้น ในโฟล์เดอร์ที่เปิืดอยู่ในขณะนั้น

2. Alt+Tab : ใช้สำหรับสวิตช์ไปยังหน้าต่างโปรแกรมต่างๆ ที่กำลังรันอยู่ในขณะนั้น

3. Alt+ Enter : ใช้สลับการทำงานในโหมดเต็มจอ (Full Screen) ของหน้าต่าง Command Prompt

4. Win : กดที่ Windows เพียงปุ่มเดียวก็สามารถที่จะเปิด หรือปิดเมนู Start ได้

5. Win+B : ใช้สำหรับเลือกไฮไลท์โปรแกรมที่อยู่ใน System tray ได้

6. Win+Ctrl +F : ใช้สำหรับค้นหาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการ

7. Win+Break : ใช้สำหรับเปิดไดอะล็อกซ์ System Properties

8. Win+D : ใช้เปิืด Desktop อย่างรวดเร็วขณะที่มีโปรแกรมต่างๆ เต็มหน้าจอไปหมด

9. Win+E : เปิดหน้าต่าง Windows Explorer

10. Win+F : เปิดหน้าต่าง Search

11. Win+F1 : เปิดหน้าต่าง Help and Support

12. Win+F2 : เปลี่ยนชื่อไฟล์ หรือโฟล์เดอร์ที่เลือกอยู่ในขณะนั้น

13. Win+F3 : เปิดกรอบค้นหาในโฟล์เดอร์ที่แอ็กทีฟ

14. Win+F4 : เปิด Address Bar ให้แสดง URL ก่อนหน้านี้ออกมา

15. Win+M : มินิไมหน้าต่างที่มีเปิดทำงานทั้งหมด

วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553

CPU (ไมโครโปรเซสเซอร์)

ประวัติความเป็นมาของไมโครโปรเซสเซอร์



ไมโครโปรเซสเซอร์กำเนิดขึ้นมาในช่วงต้นทศวรรษที่ 1970 โดยเกิดจากการนำเทคโนโลยี 2 อย่างมาพัฒนาร่วมกันซึ่งก็คือเทคโนโลยีทางด้านดิจิตอลคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี ทางดัานโซลิดสเตต(solidstate)



ดิจิตอลคอมพิวเตอร์จะทำงานตามโปรแกรมที่เราป้อนเข้าไปโดยโปรแกรมเป็นตัวบอกคอมพิวเตอร์ ว่าจะทำการเคลื่อนย้ายและประมวลผลข้อมูลอย่างไรการที่มันจะทำงานได้นั้นก็ต้องมีวงจรคำนวณ หน่วยความจำ และอุปกรณ์อินพุต/เอาต์พุต(input/output) เป็นส่วนประกอบซึ่งรูปแบบในการนำสิ่ง ที่กล่าวมานี้รวมเข้าด้วยกันเราเรียกว่าสถาปัตยกรรม (architecture)



ไมโครโปรเซสเซอร์มีสถาปัตยกรรมคล้ายกับดิจิตอลคอมพิวเตอร์หรือพูดอีกนัยหนึ่งได้ว่า ไมโครโปรเซสเซอร์ก็เหมือนกับดิจิตอลคอมพิวเตอร์เพราะสิ่งทั้งสองนี้ทำงานภายใต้การควบคุม ของโปรแกรมเหมือนกันฉะนั้นการศึกษาประวัติความเป็นมาของดิจิตอลคอมพิวเตอร์จะช่วยให้เ เราเข้าใจ การทำงานของไมโครโปรเซสเซอร์ และการศึกษาประวัติความเป็นามาของ วงจรโซลิดสเตตก็จะช่วยให้เราเข้าใจไมโครโปรเซสเซอร์มากยิ่งขึ้นเพราะไมโครโปรเซสเซอร์ก็ คือวงจรโซลิดสเตตนั่นเอง



ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ดิจิตอลคอมพิวเตอร์ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานทางก้านการทหาร ในช่วงกลางทศวรรษที่1940ดิจิตอลคอมพิวเตอร์ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานในด้านวิทยาศาสตร์ และธุรกิจ ในช่วงสงครามนี้ได้มีการศึกษาการทำงานของดิจิตอลคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วสูง (มีชื่อว่า วงจรแบบพัลส์ (pulse circuit) ที่ใช้ในเรดาร์) ทำให้เราเข้าใจดิจิตอลคอมพิวเตอร์มากขึ้น ภายหลังสงครามได้มีการค้นคว้าเกี่ยวกับคูณสมบัติทางกายภายของโซลิดสเตตอย่างมากจนกระทั่งในปี ค.ศ. 1948 นักวิทยาศาสตร์ที่ห้องเบลล์แล็บ (Bell laboratory) ได้ประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์ที่ทำจากโซลิดสเตต



ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1950 เริ่มมีการผลิตดิจิตอลคอมพิวเตอร์ขึ้นเพื่อใช้งานโดยทั่ว ๆ ไป ซึ่งทำมาจากหลอดสูญญากาศหลอดสูญญากาศเหล่านี้เป็นส่วนประกอบสำคัญ ของดิจิตอลคอมพิวเตอร์ ซึ่งเราจะนำไปสร้างเป็นวงจรพื้นฐาน เช่น เกต (gate) แปละฟลิปฟลอป (flip-flop) โดยเราจะนำเกตและฟลิปฟลอปหลาย ๆ อันมารวมกันเพื่อใช้ในการสร้างวงจรคำนวณ หน่วยความจำ และอุปกรณ์อินพุต/เอาต์พุตของดิจิตอลคอมพิวเตอร์



ดิจิตอลคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่ง ๆ จะมีวงจรต่าง ๆ อยู่มากมาย ในช่วงแรกวงจรต่าง ๆจะสร้างขึ้นจาก หลอดสูญญากาศ จึงทำให้ดิจิตอลคอมพิวเตอร์ในช่วงแรก ๆมีขนาดใหญ่และเนื่องจาก หลอดสูญญากาศ นี้เมื่อใช้งานนานๆจะร้อนดังนั้นเราจึงต้องติดตั้งระบบระบายความร้อน เข้าไปด้วย ดิจิตอลคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสูญญากาศนี้มักเชื่อถือไม่ค่อยได้ เมื่อเทียบกับมาตรฐานของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันการใช้หลอดสูญญากาศนี้เป็นส่วนประกอบ ของดิจิตอลคอมพิวเตอร์ ทำให้ดิจิตอลคอมพิวเตอร์ช่วงแรกมีราคาแพงและยากต่อการดูแลรักษา ข้อเสียต่าง ๆ ของหลอดสูญญากาศนี้ทำให้เราพัฒนาดิจิตอลคอมพิวเตอร์ในช่วงแรงไปได้ช้ามาก



คอมพิวเตอร์ช่วงแรก ๆ ยังไม่มีที่สำหรับเก็บโปรแกรม แต่จะมีที่ไว้สำหรับเก็บข้อมูลเท่านั้น ซึ่งในช่วงปลายทศวรรษที่ 1940 จนถึงต้นทศวรรษที่ 1950 การใช้งานคอมพิวเตอร์จะทำการโปรแกรมโดยวิธีที่เรียกว่า พาตช์คอร์ด (patch - cord) ซึ่งโปรแกรมเมอร์จะต้องเป็นผู้นำสายต่อเข้ากับเครื่องเพื่อบอกให้เครื่องรู้ว่าจะต้องทำการ ประมวลผลข้อมูลอย่างไร โดยหน่วยความจำของเครื่องจะมีไว้สำหรับเก็บข้อมูลเท่านั้น



คอมพิวเตอร์ในช่วงหลัง ๆ จะมีที่สำหรับเก็บโปรแกรม ซึ่งก็หมายความว่า ขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์จะถูกจัดเก็บอยู่ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ด้วย การที่เราจะทราบว่าข้อมูลในตำแหน่งใดเป็นขั้นตอนการทำงานหรือเป็นข้อมูลที่มีไว้สำหรับประมวลผล ก็โดยการตรวจสอบดูข้อมูลนั้นว่าอยู่ที่ตำแหน่งใด (ซึ่งเราจะต้องทราบว่าเราเก็บข้อมูลต่าง ๆ ที่ตำแหน่งใดและเก็บโปรแกรมที่ตำแหน่งใด) ความคิดเกี่ยวกับที่เก็บโปรแกรมนี้เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก รวมทั้งเป็นพื้นฐานที่สำคัญตัวหนึ่งในสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์



ในช่วงทศวรรษที่ 1950 ได้มีการค้นคว้าและทดลองโซลิดสเตตกันอย่างจริงจัง ทำให้ได้รู้จักสารกึ่งตัวนำมากยิ่งขึ้น ได้มีการนำสารซิลิคอนมาทดแทนสารเจอร์เมเนียม ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ (semiconductor) ทำให้ช่วยลดต้นทุนการผลิตลงเนื่องจากสารซิลิคอนหาได้ง่ายกว่าสารเจอร์เมเนียม และการผลิตทรานซิสเตอร์ (transistor) ที่ทำมาจากสารกึ่งตัวนำจำนวนมากก็จะช่วยทำให้หาง่าย และมีราคาถูกลง



ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1950 นักออกแบบดิจิตอลคอมพิวเตอร์ได้นำทรานซิสเตอร์มาใช้แทนหลอดสูญญากาศ โดยวงจรต่าง ๆ ก็ยังคงใช้ทรานซิสเตอร์หลายตัวในการทำงาน แต่คอมพิวเตอร์ที่ทำจากทรานซิสเตอร์นี้จะมีขนาดเล็กกว่า เย็นกว่า และน่าเชื่อถือมากกว่าคอมพิวเตอร์ที่ทำจากหลอดสูญญากาศ



ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1960 แนวทางการสร้างคอมพิวเตอร์จากโซลิดสเตตได้แยกออกเป็น 2 แนวทาง แนวทางหนึ่งคือ การสร้างคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่ต้องอยู่ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ ซึ่งสร้างโดยบริษัทยักษ์ใหญ่ เช่น บริษัท IBM,Burroughs และ Honeywell เครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทนี้สามารถประมวลผลได้ทีละมาก ๆ และจะถูกนำไปใช้งานทางด้านการพาณิชย์และด้านวิทยาศาสตร์



คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เหล่านี้จะมีคราคาแพงมาก เพื่อที่จะให้คุ้มกับราคาจึงต้องใช้งานมันตลอดเวลา มีวิธีการอยู่ 2 วิธีในการที่จะใช้งานคอมพิวเตอร์ได้อย่างคุ้มค่าที่สุด นั่นก็คือวิธีแบตช์โหมด (batch mode) และไทม์แชริ่งโหมด (timesharing mode) วิธีแบตช์โหมดคือการที่งานขนาดใหญ่เพียง 1 ชิ้นจะถูกทำในทีเดียว และงานชิ้นต่อไปจะถูกทำทันทีเมื่องานชิ้นนี้เสร็จ ส่วนวิธีไทม์แชริ่งโหมดคือการทำงานหลาย ๆ ชิ้นพร้อมกัน โดยแบ่งงานนั้นออกเป็นส่วน ๆ และผลัดกันทำทีละส่วน



อีกแนวทางหนึ่งคือ การสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่า โดยมีขนาดเท่าโต๊ะ เรียกว่า มินิคอมพิวเตอร์ (minicomputer) ซึ่งมีความสามารถไม่เท่ากับเครื่องขนาดใหญ่แต่มีราคาถูกกว่า และสามารถทำงานที่มีประโยชน์ได้มาก ดิจิตอลคอมพิวเตอร์ถูกนำไปใช้งานในห้องแล็บ นักวิทยาศาสตร์จะใช้ดีดิเคตคอมพิวเตอร์ (dedicated computer)ซึ่งก็คือคอมพิวเตอร์ ที่ทำงานได้อย่างเดียวแทนที่จะใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่สามารถทำงานที่แตกต่างกันได้หลายอย่าง



โซลิดสเตตยังคงถูกพัฒนาต่อไปควบคู่กับดิจิตอลคอมพิวเตอร์ แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีทั้งสองนี้ มีความเกี่ยวดองกันมากขึ้น การที่คอมพิวเตอร์มีวงจรพื้นฐานที่คล้ายกันจึงทำให้อุตสาหกรรม ด้านสารกึ่งตัวนำทำการผลิตวงจรที่สามารถนำไปใช้กับคอมพิวเตอร์พื้นฐานเดียวกันได้



ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1960 ได้มีการนำทรานซิสเตอร์หลาย ๆ ตัวมาบรรจุลงในซิลิคอนเพียงตัวเดียว โดยทรานซิสเตอร์แต่ละตัวจะถูกเชื่อมต่อกันโดยโลหะขนาดเล็กเพื่อสร้างเป็นวงจรแบบต่าง ๆ เช่น เกต ฟลิปฟลอป รีจิสเตอร์ วงจรบวก วงจรที่สร้างจากเทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์แบบใหม่นี้เรียกว่า ไอซี (integrated circuit : IC)



ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1960 ได้มีการผลิตไอซีพื้นฐานที่เป็นแบบ small และ medium scale integration (SSI และ MSI) ทำให้นักออกแบบสามารถเลือกใช้งานไอซีได้หลายแบบ เทคโนโลยีไดซีนี้ถูกแลักดันออก 2 แนวทางคือ การพัฒนาทางด้านเทคนิคเพื่อลดต้นทุนการผลิต และอีกแนวทางหนึ่งก็คือการเพิ่มความซับซ้อนให้กับวงจร



การนำไอซีมาใช้ในมินิคอมพิวเตอร์ทำให้มีความสามารถสูงขึ้น มินิคอมพิวเตอร์ขนาดเท่าโต๊ะ ในช่วงทศวรรษที่ 1960 นั้นมีประสิทธิภายพอ กับคอมพิวเตอร์ขน่าดเท่าห้องในช่วงปลายทศวรรษ ที่ 1950 และมินิคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ขนาดเท่าลิ้นชักราคา 10,000 ดอลลาร์ มีประสิทธิภาพพอ ๆ กับมินิคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าขนาดเท่าโต๊ะที่มีราคาถึง 100,000 ดอลลาร์



จากที่กล่าวมาแล้วว่าเทคโนโลยีไอซีมีการพัฒนามาตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 1960โดยในช่วงปลาย ทศวรรษที่ 1960 และต้นทศวรรษที่ 1970 ได้เริ่มนำเอาวงจรดิจิตอลมาสร้างรวมกัน และบรรจุอยู่ในไอซีเพียงตัวเดียวเราเรียกไอซีตัวนี้ว่า large-scale integration (LSI) และในช่วงทศวรรษที่1980ได้มีการนำเอาทรานซิสเตอร์มากกว่า100,000ตัวมาใส่ลงใน ไอซีเพียงตัวเดียว เราเรียกไอซีตัวนี้ว่า very large-scale integration (VLSI) ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย



วงจร LSI ในตอนแรกนั้นถูกผลิตขึ้นเพื่อใช้กับงานเฉพาะอย่าง แต่ก็มีวงจร LSI บางชนิดที่ถูกผลิตขึ้น เพื่อใช้กับงานทั่ว ๆ ไป เราจะเห็นการพัฒนาของวงจร LSI ได้อย่างชัดเจน โดยดูได้จากการพัฒนา ของเครื่องคิดเลข โดยเครื่องคิดเลขเริ่มแรกจะใช้ไอซีจำนวน 75 ถึง 100 ตัว ต่อมาวงจร LSI ชนิดพิเศษได้ถูกนำมาแทนที่ไอซีเหล่านี้ โดยใช้วงจร LSI นี้เพียง 5 ถึง 6 ตัว และต่อมาช่วงกลางทศวรรษที่ 1970 วงจร LSI เพียงตัวเดียวก็สามารถ ใช้แทนการทำงานทั้งหมดของเครื่องคิดเลขได้ หลังจากที่วงจรคำนวณได้ถูกลดขนาดลง สถาปัตยกรรมของคอมพิวเตอร์ก็ถูกลดขนาดลงด้วย โดยเหลือเป็นไอซีเพียงตัวเดียว และเราเรียกว่า ไมโครโปรเซสเซอร์ (microprocessor) เราสามารถโปรแกรมไมโครโปรเซสเซอร์เพื่อให้มันทำงานเฉพาะอย่างได้ ดังนั้นมันจึงถูกนำไปใช้เป็น ส่วนประกอบที่สำคัญในสินค้า เช่น ในเตาอบไมโครเวฟ เครื่องโทรศัพท์ ระบบควบคุมอัตโนมัติ เป็นต้นตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษที่ 1970 ได้มีการปรับปรุงสถาปัตยกรรมของไมโครโปรเซสเซอร์เพื่อเพิ่มความเร็ว และเพิ่มประสิทธิภาพในการคำนวณ ไมโครโปรเซสเซอร์ช่วงแรกจะประมวลผลข้อมูลทีละ 4บิต หรือเรียกว่าใช้เวิร์ดข้อมูลขนาด 4 บิตซึ่งทำงานได้ช้าแต่ต่อมาได้มีการพัฒนาไมโครโปรเซสเซอร์ใหม่ ที่ทำงานได้เร็วขึ้น ซึ่งก็คือ ไมโครโปรเซสเซอร์ขนาด 8 บิต และพัฒนาจนเป็นไมโครโปรเซสเซอร์ขนาด 16 บิต และ 32 บิตในที่สุด



ชุดคำสั่ง (instruction set) ในไมโครโปรเซสเซอร์จะมีขนาดเพิ่มขึ้น และมีความซับซ้อนมากขึ้น เมื่อจำนวนบิตของไมโครโปรเซสเซอร์เพิ่มขึ้น ไมโครโปรเซสเซอร์บางตัวจะมีความสามารถพอ ๆ กับหรือเหนือกว่ามินิคอมพิวเตอร์ทั่วไป ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1980 ได้มีการพัฒนาระบบไมโครโปรเซสเซอร์ขนาด 8 บิตที่มีหน่วยความจำ และมีความสามารถในการติดต่อสื่อสาร ระบบนี้มีชื่อเรียกว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) หรือไมโครโปรเซสเซอร์ชิปเดี่ยว ซึ่งได้มีการนำไปใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น คีย์บอร์ด เครื่องเล่นวีดีโอเทป โทรทัศน์ เตาอบไมโครเวฟ โทรศัพทื์ที่มีความสามารถสูง และอุปกรณ์ต่าง ๆ ในด้านอุตสาหกรรม



ถ้าเปรียบเทียบกับร่างกายของมนุษย์โพรเซสเซอร์ก็น่าจะเปรียบเทียบเป็นเหมือนสมองของมนุษย์นั่งเอง ซึ่งคอยคิดควบคุมการทำงานส่วนต่างๆของร่างกาย ดังนั้นถ้าจัดระดับความสำคัญแล้วโพรเซสเซอร์ก็น่าจะมีความสำคัญเป็นอันดับแรก







บล็อกไดอะแกรมของโพรเซสเซอร์



ส่วนประกอบของโพรเซสเซอร์มีดังนี้

• Bus Interface Unit (BIU) (Cbox) คือส่วนที่เชื่อมต่อระหว่าง address bus, control bus และ data bus กับภายนอกเช่น หน่วยความจำหลัก (main memory) และอุปกรณ์ภายนอก (peripherals)

• Memory Management Unit (MMU) (Mbox) คือส่วนที่ควบคุมโพรเซสเซอร์ในการใช้งานแคช (cache) และหน่วยความจำ (memory) โดย MMU ยังช่วยในการทำ virtual memory และ paging ซึ่งแปลง virtual addresses ไปเป็น physical addresses โดยใช้ Translation Look-aside Buffer (TLB)

• Integrated on-chip cache เป็นส่วนสำหรับเก็บข้อมูลที่ใช้งานบ่อยๆใน Synchronous RAM (SRAM) เพื่อให้การทำงานของโพรเซสเซอร์มีประสิทธิภาพสูงสุด ใช้งานได้ทั้ง L1 และ L2 on chip cache

• Prefetch Unit (part of Ibox) คือส่วนที่ดึงข้อมูลและคำสั่งจาก instruction cache และ data cache หรือ main memory based เมื่อ Prefetch Unit อ่านข้อมูลและคำสั่งมาแล้วก็จะส่งข้อมูลและคำสั่งเหล่านี้ต่อไปให้ Decode Unit

• Decode Unit or Instruction Unit (part of Ibox) คือส่วนที่แปลความหมาย ถอดรหัส หรือแปลคำสั่ง ให้เป็นรูปแบบที่ ALU และ registers เข้าใจ

• Branch Target Buffer (BTB) คือส่วนที่บรรจุคำสั่งเก่าๆที่เข้ามาสู่โพรเซสเซอร์ ซึ่ง BTB นั้นเป็นส่วนหนึ่งของ Prefetch Unit

• Control Unit or Execution Unit คือส่วนที่เป็นศูนย์กลางคอยควบคุมการทำงานในโพรเซสเซอร์ดังนี้

• อ่านและแปลความหมายของคำสั่งตามลำดับ

• ควบคุม Arithmetic and Logic Unit (ALU), registers และส่วนประกอบอื่นๆของโพรเซสเซอร์ ตามคำสั่ง

• ควบคุมการเคลื่อนย้ายของข้อมูลที่รับ-ส่งจาก primary memory และอุปกรณ์ I/O

• ALU (Ebox) คือส่วนที่ปฎิบัติตามคำสั่งและเปรียบเทียบ operands ในบางโพรเซสเซอร์มีการแยก ALU ออกเป็น 2 ส่วนดังนี้

• Arithmetic Unit (AU)

• Logic Unit (LU)

• operation ที่ ALU ปฎิบัติตามเช่น

• Arithmetic operations (+, -, *, และ /)

• Comparisons (<, >, และ =)

• Logic operations (and, or)

• Floating-Point Unit (FPU) (Fbox) คือส่วนที่ทำการคำนวณเกี่ยวกับจำนวนตัวเลขที่เป็นจุดทศนิยม

• Registers (part of Ibox, Fbox, และ Ebox) คือส่วนที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูลสำหรับการคำนวณในโพรเซสเซอร์

• Data register set เก็บข้อมูลที่ใช้งานโดย ALU เพื่อใช้สำหรับการคำนวณที่ได้รับการควบคุมจาก Control Unit ซึ่งข้อมูลนี้อาจส่งมาจาก data cache, main memory, หรือ Control Unit ก็ได้

• Instruction register set เก็บคำสั่งที่กำลังทำงานอยู่



หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)

หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ ที่มีความสำคัญมากที่สุด ของฮาร์ดแวร์เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์อินพุต ตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยส่วนประสำคัญ 3 ส่วน คือ



1. หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit : ALU)

หน่วยคำนวณตรรกะ ทำหน้าที่เหมือนกับเครื่องคำนวณอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยทำงานเกี่ยวข้องกับ การคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร นอกจากนี้หน่วยคำนวณและตรรกะของคอมพิวเตอร์ ยังมีความสามารถอีกอย่างหนึ่งที่เครื่องคำนวณธรรมดาไม่มี คือ ความสามารถในเชิงตรรกะศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบตามเงื่อนไข และกฏเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้คำตอบออกมาว่าเงื่อนไข นั้นเป็น จริง หรือ เท็จ เช่น เปรียบเทียบมากว่า น้อยกว่า เท่ากัน ไม่เท่ากัน ของจำนวน 2 จำนวน เป็นต้น ซึ่งการเปรียบเทียบนี้มักจะใช้ในการเลือกทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ จะทำตามคำสั่งใดของโปรแกรมเป็น คําสั่งต่อไป



2. หน่วยควบคุม (Control Unit)

หน่วยควบคุมทำหน้าที่คงบคุมลำดับขั้นตอนการการประมวลผลและการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ภายใน หน่วยประมวลผลกลาง และรวมไปถึงการประสานงานในการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยประมวลผลกลาง กับอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล และหน่วยความจำสำรองด้วย เมื่อผู้ใช้ต้องการประมวลผล ตามชุดคำสั่งใด ผู้ใช้จะต้องส่งข้อมูลและชุดคำสั่งนั้น ๆ เข้าสู่ระบบ คอมพิวเตอร์เสียก่อน โดยข้อมูล และชุดคำสั่งดังกล่าวจะถูกนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำหลักก่อน จากนั้นหน่วยควบคุมจะดึงคำสั่งจาก ชุดคำสั่งที่มีอยู่ในหน่วยความจำหลักออกมาทีละคำสั่งเพื่อทำการแปล ความหมายว่าคำสั่งดังกล่าวสั่งให้ ฮาร์ดแวร์ส่วนใด ทำงานอะไรกับข้อมูลตัวใด เมื่อทราบความหมายของ คำสั่งนั้นแล้ว หน่วยควบคุมก็จะส่ง สัญญาณคำสั่งไปยังฮาร์แวร์ ส่วนที่ทำหน้าที่ ในการประมวลผลดังกล่าว ให้ทำตามคำสั่งนั้น ๆ เช่น ถ้าคำสั่ง ที่เข้ามานั้นเป็นคำสั่งเกี่ยวกับการคำนวณ หน่วยควบคุมจะส่งสัญญาณ คำสั่งไปยังหน่วยคำนวณและตรรกะ ให้ทำงาน หน่วยคำนวณและตรรกะก็จะไปทำการดึงข้อมูลจาก หน่วยความจำหลักเข้ามาประมวลผล ตามคำสั่งแล้วนำผลลัพธ์ที่ได้ไปแสดงยังอุปกรณ์แสดงผล หน่วยคงบคุมจึงจะส่งสัญญาณคำสั่งไปยัง อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ ที่กำหนดให้ดึงข้อมูลจากหน่วยความจำหลัก ออกไปแสดงให้เห็นผลลัพธ์ดังกล่าว อีกต่อหนึ่ง



3. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)

คอมพิวเตอร์จะสามารถทำงานได้เมื่อมีข้อมูล และชุดคำสั่งที่ใช้ในการประมวลผลอยู่ในหน่วยความ จำหลักเรียบร้อยแล้วเท่านั้น และหลักจากทำการประมวลผลข้อมูลตามชุดคำสั่งเรียบร้อบแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้ จะถูกนำไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลัก และก่อนจะถูกนำออกไปแสดงที่อุปกรณ์แสดงผล





ข้อมูลจาก www.sanambin.com

ทักทาย

สวัสดีค่ะ ชื่อ นางสาวกุลวดี โพธิ์ศรี เลขที่ 5 คพธ.532